ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร ผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องจดทะเบียนหรือไม่ ?

Louis Potsavee
July 31, 2024

เมื่อคุณก้าวเข้ามาทำธุรกิจอย่างเต็มตัว สิ่งหนึ่งที่คุณจะต้องรู้คือเรื่องของภาษีต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการจะต้องเสีย โดยเฉพาะ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรามักเรียกว่า Vat นั้นไม่ใช้เพียงแค่ผู้ประกอบการจะต้องทำความเข้าใจและผู้บริโภคและผู้ใช้บริการทุกคนจะต้องรู้ว่า Vat คืออะไรและทำให้ทางผู้ประกอบการถึงต้องคิด Vat 7% ที่คุ้นหูคุ้นตานี้เพิ่มมาในใบเสนอราคา และการจะเก็บ Vat 7% ผู้ประกอบการจะต้องมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับบริษัทหรือไม่ วันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟังเอง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax

ทำความรู้จักกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Vat 7% คืออะไร

หากพูดถึง ภาษีมูลค่าเพิ่ม หลายคนงงไม่รู้ว่ามันคือภาษีตัวไหนเก็บยังไง แต่หากพูดว่า  VAT (Value Added Tax) ก็จะพาคุ้นหูคุ้นตากันบ้าง ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการเพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือบริการในทุกขั้นตอนของการผลิตและการจัดจำหน่าย โดยที่ผู้ประกอบการจะต้องเก็บภาษีนี้จากผู้ซื้อในแต่ละขั้นตอนแล้วนำส่งให้แก่รัฐ โดยประเทศไทยจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% ของราคาสินค้าและบริการ ไม่ได้มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ก็มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ อย่างประเทศญี่ปุ่นที่มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มถึง 10 %

หลักในการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการเป็นอย่างไร

แน่นอนว่าไม่ใช่ใครก็สามารถเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือบริการของตนเองได้ สำหรับหลักในการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ ภาษีมูลค่าเพิ่มจะถูกเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าและบริการในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตและการจำหน่าย ผู้ประกอบที่มีการจดทะเบียนจะเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปในราคาสินค้าหรือบริการที่ขาย

โดยทั่วไปแล้วการหักภาษีซื้อผู้ประกอบการมีสิทธิ์หักลบภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายในขั้นตอนการซื้อวัตถุดิบหรือบริการจากภาษีที่เรียกเก็บจากลูกค้าในขั้นตอนการขาย ส่วนต่างระหว่างภาษีขาย (Output Tax) กับภาษีซื้อ (Input Tax) จะต้องนำส่งให้แก่รัฐ โดยที่ผู้ประกอบการจะต้องยื่นรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มและชำระภาษีต่อกรมสรรพากรตามกำหนดเวลาที่กำหนด

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบควรจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ใครบ้างควรจด Vat

โดยทั่วไปแล้วการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ จด Vat ผู้ประกอบสามารถเข้าไปจดทะเบียนได้ทุกคน ถึงแม้ว่าธุรกิจของคุณไม่เป็นบริษัทก็สามารถจดได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบที่ควรทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมักจะมีอยู่ 3 กรณีด้วยกันคือ

  • ผู้ประกอบการที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จากการขายสินค้าหรือให้บริการ จำเป็นที่จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากรู้ว่ามีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดผู้ประกอบการจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับจากวันที่รายรับถึงเกณฑ์ที่กำหนด
  • ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากกิจการพาณิชย์ระหว่างประเทศ สำหรับใครที่ทำธุรกิจค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ามาจากต่างประเทศจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ผู้ประกอบการรายใหม่ที่คิดว่าจะมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็สามารถเข้าไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เลยโดยไม่ต้องรอให้มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี

ใครบ้างได้รับการยกเว้นในการจดภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการบางรายนั้นไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้เช่นกัน แต่จะต้องเป็นไปตามกฎหมายข้อยกเว้นซึ่งมีระบบไว้ว่าจะต้องเป็นผู้ประกอบการหรือองค์กรดังต่อไปนี้

  • ผู้ประกอบการรายย่อย ที่มีรายรับต่ำกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การขายอาหารสด ยา บริการทางการแพทย์ บริการทางการศึกษา การให้บริการขนส่งผู้โดยสาร และบริการทางการเกษตร เป็นต้น
  • องค์กรหรือหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้น ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร หรือองค์กรการกุศลที่ได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถไปจดได้ที่ไหน ?

ปัจจุบันการจดภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นทำได้ง่ายมาก ๆ เพราะทางสำนักงานสรรพากรเปิดให้ผู้ประกอบการที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ยื่นเอกสารการจัดภาษีผ่านช่องทางออนไลน์อย่าง www.rd.go.th ได้เลย หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ก็ได้เช่นกัน โดยจะต้องเตรียมเอกสารให้เรียบร้อยซึ่งสามารถเข้าไปดูว่าควรเตรียมเอกสารใดบ้างที่เว็บไซต์ที่เราแนะนำได้เลยจะมีบอกไว้อย่างละเอียด หากมีข้อสงสัยในการจดภาษีเพิ่มเติมสามารถโทรสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1161 ได้เลย

ข้อดีของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • เพิ่มความน่าเชื่อถือแสดงถึงความเป็นทางการของการเปิดธุรกิจที่ไว้ใจได้  ทำให้ลูกค้าและคู่ค้ารู้สึกมั่นใจในการทำธุรกิจกับคุณ
  • บริษัทหรือองค์กรใหญ่ ๆ มักจะพิจารณาคู่ค้าที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นหลัก ทำให้ได้รับโอกาสในการทำการค้ากับธุรกิจขนาดใหญ่ ๆ มากมาย
  • สิทธิ์ในการหักลดหย่อนภาษีซื้อ ผู้ประกอบการสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายในขั้นตอนการซื้อวัตถุดิบหรือบริการ ซึ่งช่วยลดภาระภาษีที่ต้องจ่ายให้กับรัฐ ทั้งยังการหักลดหย่อนภาษีซื้อช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลงและเพิ่มกำไรสุทธิ
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย ทำให้ธุรกิจดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายและหลีกเลี่ยงการถูกปรับหรือถูกยกเลิกใบอนุญาต ลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากร
  • การเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในสายตาของลูกค้าและสาธารณชน ส่งเสริมความโปร่งใสและความเป็นมืออาชีพของธุรกิจ

ข้อเสียของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ภาระการบริหารจัดการ ผู้ประกอบการจะต้องรับภาระในการจัดการและยื่นรายงานภาษีที่ซับซ้อน
  • ผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อย ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บตามมูลค่าซื้อขายทำให้ผู้มีรายได้น้อยอาจได้รับผลกระทบมากกว่าผู้มีรายได้สูง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม

สรุป

สำหรับผู้ประกอบการที่ผ่านเข้ามาเห็นบนความนี้คงรู้แล้วว่าการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร เพื่อป้องกันการถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากรผู้ประกอบการที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีควรจด Vat  ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและสามารถเรียกเก็บภาษีจากลูกค้าเพื่อนำส่งให้แก่รัฐ

อย่างไรก็ตามสำหรับธุรกิจที่ต้องการเข้ามาให้เราช่วยในการทำการตลาดออนไลน์แต่ยังไม่กล้าที่จะตัดสินใจเพราะกลัวว่าเรานั้นไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งเราเป็น บริษัทดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเอเจนซี่ ที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้เรามีลูกค้าบริษัทใหญ่ ๆ มากมายเข้ามาติดต่อใช้บริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น รับดูแลเพจ Facebook , รับทำ SEO , และการทำการตลาดออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือตรวจสอบได้จริงอย่างแน่นอน

Share:

Author
Louis Potsavee

หลุยส์นักเขียนบทความที่สามารถเขียนบทความได้ทุกรูปแบบตามข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อให้เกิดบทความใหม่ ๆ ในรูปแบบที่ผู้คนสามารถเข้ามาอ่านได้ง่ายขึ้น เกี่ยวกับ Digital Marketing เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักการตลาดทุกคน