TF-IDF ย่อมาจาก Term Frequency with Inverse Document Frequency ค่อนข้างรู้จักกันดีในเยอรมนี และไม่นานมานี้ที่สหรัฐอเมริกา และในไทยเองก็คงจะเริ่มเข้ามามีบทบาทแล้ว ดังนั้นรู้ก่อน อยู่เหนือกว่า ในบทความนี้เรามาทำความรู้จักเจ้า TF-IDF กัน รวมถึงการนำไปใช้กับ SEO ด้วย ใครอยากรู้ ก็ตามมาเลย… asiasearch.co.th
Table of Contents
Toggleสำหรับคนทั่วไป TF-IDF ทำหน้าที่ช่วยนักการตลาดกำหนดหัวข้อที่ครอบคลุมสำหรับการจัดอันดับใน SERPs
“TF-IDF” มันอาจจะดูว้าวมากในครั้งแรกที่เห็น หรือตอนรู้ชื่อเต็ม ๆ ของมัน แต่หากลองแยกแต่ละคำออกมา ค่อย ๆ เรียนรู้ไปทีละตัว แล้วดูความเชื่อมโยงของมัน ก็จะพบว่า TF-IDF ไม่ได้ยากอย่างคิด
ตัวนี้ง่ายมาก Term Frequency คือจำนวนคำหรือวลีที่แสดงบนเนื้อหา บ่อยครั้งที่นักการตลาดพยายามทำตามวิธีทำ SEO แบบใส่คีย์เวิร์ดเข้าไปในคอนเทนต์เยอะ ๆ เช่น สมมติว่าคุณอยากเขียนบทความเรื่อง “การลดน้ำหนัก” มีคีย์เวิร์ดสำคัญคือ “วิธีลดน้ำหนัก” ปรากฎในบทความ 4 ครั้ง “4 ครั้ง” ที่ว่านี่แหละคือ Term Frequency
แต่ Term Frequency หรือความที่ของคีย์เวิร์ด ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะช่วยให้ SEO สำเร็จได้ เพราะความสำเร็จของ SEO จะใช้ TF ไปหารกับจำนวนคำทั้งหมด เพื่อให้ได้ความหนาแน่นที่เหมาะสมที่สุดในการใส่คีย์เวิร์ดหลักลงไปในบทความ เราขอเรียกมันว่า Keyword Density
อย่างตัวอย่างที่ยกมาข้างบน ถ้าจำนวนคำทั้งหมดในบทความอยู่ที่ 300 คำ คีย์เวิร์ดหลัก คือ “วิธีลดน้ำหนัก” ปรากฎไป 4 ครั้ง keyword density ก็ควรจะอยู่ที่ราว ๆ 1.33% หรือหากในบทความมีจำนวนคำทั้งหมด 3000 คำ keyword density ก็จะอยู่ที่ 0.13% นั่นเอง คีย์เวิร์ดควรแสดงชัดเจนที่สุดในเนื้อหานั้น ๆ แม้ว่าจะมีคำอื่นที่มีความถี่เท่ากันก็ตาม
พูดง่ายก็คือ ความถี่ผกผันในเนื้อหา เมื่อไหร่ก็ตามที่คีย์เวิร์ดหนึ่งมี Inverse Document Frequency ลดลง ค่าของคำที่ไม่จำเป็นและกลุ่มคำเฉพาะก็จะมากขึ้น
ถ้าคุณเอาคำยอดฮิตของหน้านั้น ๆ มาใช้ อันดับต้น ๆ คงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม จำไว้ว่าอย่าใช้คำฟุ่มเฟือยถ้าไม่จำเป็น เช่น จะ ที่ ซึ่ง อัน สำหรับ และ หรือ เป็นต้น คำพวกนี้ไม่ได้มีส่วนช่วยในการจัดอันดับเลย
การที่ IDF ลดค่าของพวกคำที่ไม่จำเป็นลง แล้วให้คุณค่ากับคีย์เวิร์ดหลักมากขึ้น ทำให้เห็นว่าเราควรให้ความสำคัญกับคีย์เวิร์ดที่มีน้ำหนักมากที่สุด
กลับมาที่คีย์เวิร์ดคำว่า “วิธีลดน้ำหนัก” นักเขียนอาจใส่คำว่า “ออกกำลังกาย”, “คุมอาหาร” และ “ไดเอต” เข้าไป เพราะคำเหล่านี้เป็นกลุ่มคำที่เป็นประโยชน์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดหลักและหัวข้อของบทความ
มาถึงตรงนี้หลายคยคงรู้แล้วว่า TF-IDF ใช้ยังไง ตอนนี้เรามาก้าวไปอีกขั้น คือ ลองนำไปปรับใช้กับการ ทำ SEO ให้ติดหน้าแรก กัน มีหลากหลายวิธีที่เปิดโอกาสให้คุณนำ TF-IDF ไปปรับใช้ได้กับงานเขียนและการเผยแพร่ หลัก ๆ วิธีใช้ TF-IDF ก็จะมีดังนี้
บางคนต้องการออกจากกรอบเดิม ๆ และหาลู่ทางสำหรับการสร้างคอนเทนต์ใหม่ที่ดีขึ้น พวกเขาเลือกใช้ TF-IDF มาวิเคราะห์เว็บไซต์ของตัวเองและคู่แข่ง เพื่อเสาะหาแนวทางใหม่ ๆ ที่พวกเขายังไม่เคยลองมาก่อน
บล็อกสุขภาพและฟิตเนสที่เราพูดถึงก่อนหน้านี้ อาจใช้คีย์เวิร์ดจากการวิเคราะห์ TF-IDF มาสร้างบทความใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “วิธีลดน้ำหนัก” ที่พวกเขาอาจจะยังไม่เคยทำมาก่อน เช่น
เมื่อได้หัวข้อที่สดใหม่ พวกเขาก็สามารถลิงก์กลับมาหาหน้า “วิธีลดน้ำหนัก” และเปลี่ยนจากเนื้อหาหลักธรรมดา ให้กลายเป็นหน้าศูนย์กลางข้อมูลที่ติดอันดับหน้าแรก วิธีนี้ นักการตลาดสามารถพัฒนาแผนการส่งเสริมการขายทั้งหมดโดยอ้างอิงจากบล็อกโพสต์ที่มีอันดับสูง แค่หน้านี้หน้าเดียวก็สามารถเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้แล้ว
TF-IDF ยังสามารถช่วยปรับปรุงคอนเทนต์ที่อันดับดีอยู่แล้วด้วย ลองดูหน้าเพจที่สร้างยอดผู้เข้าชมให้แก่เว็บของคุณ และเช็กว่าหน้าเหล่านี้ถูกปรับปรุงให้ที่ดีที่สุดแล้วหรือยัง มีเนื้อหาที่ต้องเพิ่มหรือไม่? ขาดลิงก์คุณภาพไปหรือเปล่า? หรือยังต้องอัปเดตอะไรอีกไหม?
ใช้ TF-IDF เพื่อหาหัวข้อและไอเดียที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน อาจจะต้องเพิ่มลิงก์ หรือสร้างแหล่งที่มาเพื่อให้ผู้เข้าชมอยู่ในเว็บเรานาน ๆ หรือไม่ก็สร้างปุ่มต่าง ๆ เพิ่ม ก็อาจจะเวิร์กได้เหมือนกัน
ถ้าคุณอยากไต่อับดับได้ดีขึ้น คอนเทนต์ดีคือคำตอบ ยิ่งทำเยอะ ยิ่งส่งผลดี เพราะคอนเทนต์คุณภาพ ถูกใจ SERPs เป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณอาจจะต้องพิจารณาการสร้างคอนเทนต์ดี ๆ ขึ้นมาให้เยอะขึ้น รวมถึงปรับปรุงหน้าที่มีอยู่ด้วย ทีนี้อันดับต้น ๆ ก็จะเป็นของคุณได้
บทความที่เกี่ยวข้อง เขียน Content เชิง SEO ยังไงให้ปัง
เมื่อพูดถึง TF-IDF คงต้องนึงถึงคอนเทนต์กันใช่ไหม?? แต่ TF-IDF ยังช่วยในเรื่องของกลยุทธ์การสร้างลิงก์ได้อีกด้วย เพราะเจ้าตัว TF-IDF นี้สามารถให้แหล่งที่มาหรือแหล่งอ้างอิงแก่ผู้เข้าชมได้ เท่านั้นยังไม่พอยังช่วยให้การะบวนการทำ SEO ได้ผลขึ้นอีกด้วย
อาจจะกำหนดหัวข้อที่ไม่จำเป็นต้องครอบคลุมเนื้อหาหลักของเว็บไซต์ที่อ้างอิงก็ได้ อาจมีการพูดถึง กล่าวอ้าง แล้วสร้างลิงก์ออกไปยังเว็บปลายทางนั้น
ขอเบิกตัวตัวอย่างเดิม เว็บสุขภาพ อาจมีบทความที่พูดถึงการคุมอาหาร แทนที่เขียนเกี่ยวกับสูตรอาหารนั้นทั้งหมด เปลี่ยนเป็นใส่ลิงก์จากหน้าเพจ “สูตรเมนูคุมอาหารที่ใคร ๆ ก็ทำได้” เข้าไปก็ได้ การใส่ลิงก์นี้จะช่วยสร้างความเกี่ยวข้องภายในเว็บไซต์ และยังหลีกเลี่ยง Keyword Cannibalization ได้อีกด้วย ผู้เข้าชมจะอยู่ในหน้าเว็บของเรานานขึ้น แรงก์ก็ไม่ตก แถมยังสร้างความเชื่อมโยงและให้ประโยชน์แค่ผู้อ่านอีกด้วย ประโยชน์หลายเด้งเลย!
มีเครื่องมือมากมายให้คุณได้ลองใช้วิเคราะห์หน้าเพจของคุณ พร้อมสร้างกลยุทธ์ด้านเนื้อหาให้เลยทันที ไม่ต้องกำหนดคีย์เวิร์ดเองให้เมื่อย มาเช็กกันว่ามีตัวไหนน่าสนใจบ้าง…ดังนี้
ลองใช้เครื่องมือทั้ง 3 ตัวนี้ แล้วดูว่าตัวไหนเหมาะกับการใช้งานของคุณและให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
Performance Marketing