Data Analysis คืออะไร มีประโยชน์อย่างมากในเพิ่มศักยภาพธุรกิจในอนาคต

Louis Potsavee
May 31, 2024

ทุกอย่างบนโลกนี้หากต้องการก้าวไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็งแน่นอนว่าการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ผลถือเป็นสิ่งสำคัญมากในทุก ๆ เรื่อง ซึ่งเราจะเรียกว่า Data Analysis ปัจจุบันการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้กับทุกเรื่องที่ต้องการพัฒนาไปยังเป้าหมายที่ต้องไว้ได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการบริการธุรกิจ การตลาด ที่มีการแข่งขันกันสูงมาก ๆ และเศรษฐกิจที่คาดเดาไม่ได้ สภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ผันผวน ทุกอย่างถือเป็นข้อมูลที่สำคัญที่เราจะต้องนำมาวิเคราะห์ผล และวางแผนเพื่อให้ไปยังเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วยชุดข้อมูลและผลการวิเคราะห์ที่แม่นยำ

ทำให้ Data Analysis เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลที่มีคุณค่าและนำไปปฏิบัติได้อย่างมีกลยุทธ์ ซึ่งนำไปใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจวางแผน สร้างแคมเปญในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวันนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลกัน

business-data-analysis

ทำความรู้จัก Data Analysis คืออะไร ?

Data Analysis แปลว่า การวิเคราะห์ข้อมูลในเรื่องที่สนใจและต้องการ โดยมีการดึงข้อมูลเชิงลึกทั้งหมดมาตรวจสอบอย่างมีระบบแบบแผนเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจหรือวางแผนในการทำงานในอนาคต เราจะเห็นว่าการวิเคราะห์ข้อมูลถือเป็นพื้นฐานที่เราได้เรียนมาตั้งแต่เด็ก ๆ ในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และการวิเคราะห์ข้อมูลมีความสำคัญมาก ๆ กับ สายงานการตลาด , Digital Marketing , การทำธุรกิจ 

ในการวิเคราะห์มูลจะเป็นกระบวนการที่ใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการตรวจสอบเพื่อการวางแผนหรือตัดสินใจ เพื่อสร้างข้อมูลสรุปและสกัดความรู้ที่มีค่าออกมา กระบวนการนี้รวมถึงการใช้เครื่องมือทางสถิติและซอฟต์แวร์เพื่อหาแพทเทิร์น แนวโน้ม และความสัมพันธ์ภายในข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจหรือการวางแผนกลยุทธ์ได้ในอนาคต

เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลบนแพตลฟอร์มออนไลน์Google analytics คืออะไรเพิ่มเติม Facebook Analytics คืออะไร และ

ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นทักษะที่สำคัญในยุคดิจิทัลปัจจุบันเป็นอย่างมากทำให้ทุกคนจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้กับงานได้หลากหลายรูปแบบ ช่วยให้ธุรกิจและองค์กรสามารถทำความเข้าใจข้อมูลมหาศาลได้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยจะมีการแบ่ง Data Analysis ออกเป็นดังนี้

  • Descriptive Analytics (การวิเคราะห์เชิงบรรยาย) : วิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เพื่ออธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นในอดีต มักใช้เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมของธุรกิจหรือปัญหาที่กำลังเผชิญ
  • Diagnostic Analytics (การวิเคราะห์เชิงวินิจฉัย) : วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาสาเหตุของเหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต โดยอาจรวมถึงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และการทดสอบสมมติฐาน
  • Predictive Analytics (การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์) : ใช้ข้อมูลอดีตเพื่อทำนายเหตุการณ์ในอนาคต โดยใช้เทคนิคทางสถิติ การเรียนรู้ของเครื่อง และการทำนายพฤติกรรม
  • Prescriptive Analytics (การวิเคราะห์เชิงกำหนด) : ไม่เพียงแต่ทำนายเหตุการณ์ในอนาคต แต่ยังระบุการกระทำที่ควรดำเนินการเพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยอาศัยความสามารถในการตัดสินใจอัตโนมัติและอัจฉริยะประดิษฐ์
business-data-analysis

บทความเพิ่มเติม SWOT analysis คืออะไร ?

Data Analysis ทางธุรกิจและการตลาด (Marketing Analytics)

การวิเคราะห์ข้อมูลในด้านธุรกิจและการตลาด (Marketing Analytics) เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจตลาด ลูกค้า และประสิทธิภาพของกิจกรรมทางการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์สามารถนำไปปรับปรุงและกำหนดกลยุทธ์สร้างแคมเปญการตลาดที่เหมาะสม และสร้างการตัดสินใจที่แม่นยำในการบริหารธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น โดยข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจและการตลาดมีดังนี้

1. การวิเคราะห์ลูกค้า (Customer Analytics)

คุณสามารถเก็บข้อมูลและทำการวิเคราะห์แบ่งกลุ่มลูกค้าตามลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น อายุ รายได้ พฤติกรรมการซื้อ ฯลฯ เพื่อเข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างเฉพาะเจาะจง ความทั้งการวิเคราะห์ความภักดีของลูกค้า (ลูกค้าประจำที่เข้ามาใช้บริการเป็นประจำ) ศึกษาแนวโน้มการซื้อซ้ำของกลุ่มลูกค้าต่าง ๆ  การแนะนำสินค้าหรือบริการให้กับผู้อื่น และความผูกพันกับแบรนด์ ทำความเข้าใจเพิ่มเติม Customer analysis คืออะไร

2. การวิเคราะห์การตลาด (Marketing Analytics)

ไม่ว่าจะเป็นการโปรโมต สร้างแคมเปญ ทำโฆษณา ที่มีการทำออกไปจะต้องใช้การวิเคราะห์ธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และแคมเปญต่าง ๆ ที่ปล่อยออกไปก็เป็นข้อมูลที่จะสามารถนำมาวิเคราะห์ต่อไปในการทำแคมเปญใหม่ ๆ ในอนาคตได้ โดยวัดผลการตอบสนองจากแคมเปญต่างๆ เพื่อดูว่ากิจกรรมใดให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด รวมถึง การวิเคราะห์ ROI: คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนในการตลาดเพื่อดูว่ากิจกรรมใดคุ้มค่าที่สุด

3. การวิเคราะห์แบรนด์และการแข่งขัน (Brand and Competitive Analytics)

การวิเคราะห์ตำแหน่งแบรนด์ เพื่อทำความเข้าใจว่าลูกค้ามองเห็นแบรนด์ของคุณอย่างไรเมื่อเทียบกับคู่แข่ง และการวิเคราะห์การแข่งขันศึกษาสภาพแวดล้อมการแข่งขันเพื่อหาข้อได้เปรียบและจุดอ่อนของคู่แข่ง ทำให้คุณเข้าใจธุรกิจของคุณและคู่แข่งทางการตลาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างแคมเปญและสร้างจุดขายที่แตกต่างกัน พร้อมกับการพัฒนาข้อบกพร่อง

4. การวิเคราะห์การดำเนินงาน (Operational Analytics)

ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์การให้บริการ การวิเคราะห์โลจิสติกส์ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต การบริการจัดการคนในทีมงานต่าง ๆ รวมถึงเป็นการวิเคราะห์การดำเนินงานทำงานต่าง ๆ ที่จะนำพาให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการทำงานให้ราบรื่น

business-data-analysis

Data Analysis มีความสำคัญอย่างไรบ้างกับธุรกิจ ?

การวิเคราะห์ข้อมูลมีบทบาทสำคัญในทางธุรกิจเป็นอย่างมาก ช่วยให้ธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี โดยจะมีการเปลี่ยนข้อมูลดิบให้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีความหมายต่อการนำไปใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้ธุรกิจสามารถระบุโอกาส ลดความเสี่ยง และปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมได้เป็นอย่างดี

1. การตัดสินใจอย่างมีข้อมูล

แน่นอนว่าข้อมูลทางสถิติในธุรกิจที่ผ่านมาช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น โดยอาศัยหลักฐานที่เป็นรูปธรรมมาวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ ซึ่งจะแม่นยำกว่าการใช้สัญชาตญาณหรือการคาดเดา เพราะธุรกิจที่มีการลงทุนมหาศาลจะไม่มีการใช้การคาดเดาแบบมั่ว ๆ ได้อย่างแน่นอน เพราะการตัดสินใจมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ จะต้องใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด 

2. ปรับปรุงความเข้าใจ

ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่ผ่านเข้ามาจะสร้างความเข้าใจได้จริง ๆ สำหรับธุรกิจที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าช่วยให้เข้าใจกระบวนการ พฤติกรรม และแนวโน้มของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสินค้า แคมเปญการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

3. ความได้เปรียบทางการแข่งขัน

การวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดคู่แข่ง พฤติกรรมผู้บริโภค และประสิทธิภาพของธุรกิจ จะนำไปสู่การพัฒนากลยุทธ์เพื่อตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพในสิ่งที่บกพร่อง ทำให้ธุรกิจคุณสามารถนำหน้าคู่แข่งหนึ่งก้าวอยู่เสมอ พร้อมทั้งสร้างการปรับตัวและสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ ขึ้นมาใหญ่จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกสามารถนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญ

4. การลดความเสี่ยงทางธุรกิจ

การวิเคราะห์ข้อมูลถือเป็นเครื่องมือการประเมินและการจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับการตัดสินใจที่ผิดพลาด ธุรกิจต่าง ๆ สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและใช้มาตรการป้องกันโดยการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตนมาเป็นแนวทางและวางแผนงานให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น

5. การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำการวิเคราะห์มานั้นจะทำให้เราสามารถจัดสรรทรัพยากรเพิ่มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรงบประมาณ ทรัพยากรบุคคล หรือกำลังการผลิต สามารถรับประกันได้ว่าทรัพยากรจะถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลที่คุ้มค่าได้อย่างแน่นอน

6. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเรามีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่การพัฒนาของธุรกิจในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา เพราะการวิเคราะห์ข้อมูลจะทำให้รู้ข้อผิดพลาดและข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และช่วยสร้างตัวชี้วัดประสิทธิภาพมากขึ้น และแผนการที่ดีขึ้น ทำให้ทีมงานสามารถติดตามความคืบหน้าอย่างถูกต้อง

business-data-analysis

สรุป

การวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Data Analysis ช่วยให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น ปรับปรุงกลยุทธ์การตลาด และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปสู่การเติบโตของรายได้และการขยายตัวของธุรกิจ สำหรับบริษัทดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเอเจนซี่ ของเรามีการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดเพื่อช่วยให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น ดูแลเพจ Facebook , รับยิงแอด Facebook , รับทำ SEO ติดหน้าแรก และอื่น ๆ 

Share:

Author
Louis Potsavee

หลุยส์นักเขียนบทความที่สามารถเขียนบทความได้ทุกรูปแบบตามข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อให้เกิดบทความใหม่ ๆ ในรูปแบบที่ผู้คนสามารถเข้ามาอ่านได้ง่ายขึ้น เกี่ยวกับ Digital Marketing เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักการตลาดทุกคน