On-page SEO คืออะไร?

asiasearch
June 26, 2023

On-page SEO คืออะไร? On-page SEO คือการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหาอย่างหนึ่งที่จะปรับปรุงเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับการอันดับบนหน้าในผลการค้นหาที่เกี่ยวข้อง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในที่กำหนดเป้าหมายของเนื้อหาสำหรับเพจและซอร์สโค้ดเอาไว้ มีตั้งแต่การสร้างเนื้อหา การแทรกคีย์เวิร์ด การปรับปรุงความเร็วของเพจ และอื่น ๆ

On-page SEO คืออะไร?

On-page SEO เป็นวิธีปฏิบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพองค์ประกอบบนเว็บไซต์ของคุณ เช่น ความเร็วของหน้าและความหนาแน่นของคีย์เวิร์ด เทียบกับปัจจัยภายนอกเว็บไซต์ของคุณ เช่น ลิงก์ย้อนกลับภายนอก เพื่อปรับปรุงอันดับของเว็บไซต์และการมองเห็นในเครื่องมือค้นหา

On-page SEO กับ Off-page SEO แตกต่างกันยังไง?

On-page SEO กับ Off-page SEO เป็นอะไรที่คุณจะพบได้บ่อยมากเมื่อพยายามเพิ่มอันดับให้เว็บไซต์ของคุณ

  • On-page SEO: หมายถึงการกระทำที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ของคุณ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาและการปรับปรุงการนำทางของคุณ เพื่อเพิ่มอันดับการค้นหาของคุณ
  • Off-page SEO: หมายถึงการกระทำที่เกิดขึ้นนอกเว็บไซต์ของคุณ เช่น การได้รับ Backlink จากเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ เพื่อเพิ่มอันดับการค้นหาของคุณ

การทำ SEO ที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องการการผสมผสานที่ดีระหว่างการทำ On-page SEO และ Off-page อย่างเหมาะสม เพื่อให้ครอบคลุมทุกความสำเร็จ

On-page SEO คืออะไร (1)

ทำไมต้องทำ On-page SEO?

On-page SEO จะนำไปสู่อันดับการค้นหาที่สูงขึ้น เพิ่มการเข้าชมให้เว็บไซต์ของคุณ และทำให้ Conversion มากขึ้นตามไปด้วย ผลลัพธ์ของ On-page SEO ต้องใช้เวลา แต่เมื่อกลยุทธ์ On-page SEO ของคุณเริ่มต้นขึ้น มันสามารถทำให้อันดับออนไลน์และยอดขายของคุณพุ่งสูงขึ้นได้จริงและยั่งยืน สำหรับธุรกิจไหนที่ต้องการทำ SEO เพื่อรองรับการค้าหาของกลุ่มลูกค้า สามารถปรึกษา ทีม ดิจิทัลเอเจนซี่ รับทำโฆษณาออนไลน์ ของเรา ช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จริง รับทำ SEO สายขาว ให้ติดหน้าแรก

ปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพไหนบ้างที่ช่วยจัดอันดับ On-page SEO ได้

 On-page SEO มีปัจจัยการจัดอันดับ on-page ที่แตกต่างกันหลายอย่าง ถ้าต้องการปรับปรุงปัจจัยเหล่านี้ทั้งหมดให้เหมาะสม เวลา คือสิ่งสำคัญที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพให้ปัจจัยเหล่านี้ และทำให้อันดับของคุณในผลการค้นหาเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้  รวมถึงทำให้เว็บไซต์ของคุณแข่งขันได้มากขึ้นและเอาชนะได้ยากด้วย

ปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพ On-page ที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่:

  • URL
  • Title tag
  • Meta Descriptiom
  • Heading tag
  • Alt Tag
  • คีย์เวิร์ด
  • เนื้อหา
  • ความเร็ว
  • Internal Link
  • รูปภาพ
  • Mobile-friendly

ตัวอย่างของการเพิ่มประสิทธิภาพให้ On-page SEO ได้แก่:

  • การเพิ่มประสิทธิภาพ Title tag และ Meta Description
  • การเขียนเนื้อหาเชิงลึกที่มีคุณภาพ
  • เคลียร์โค้ดในเว็บไซต์ของคุณให้สะอาด
  • ปรับปรุง navigation ของเว็บไซต์ให้เรียบง่ายและไหลลื่น
  • เร่งความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ของคุณ

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับ On-page SEO

ตอนนี้คงรู้กันแล้วว่าทราบปัจจัยไหนบ้างที่มีอิทธิพลต่อ On-page SEO ของคุณ รู้แบบนี้อยากให้เริ่มคุณเพิ่มประสิทธิภาพได้เลยตั้งแต่ตอนนี้ แต่จำไว้ว่า การเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ต้องใช้เวลาพอสมควร ถึงจะเห็นดูผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ แต่ถ้ามั่นใจว่าการปฏิบัติตามแนวทางอย่างถูกต้องแล้ว ก็ไม่มีอะไรต้องกังวลปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้คุณสร้างเว็บไซต์ที่สามารถทนต่อการอัปเดตอัลกอริทึมได้ไม่ว่าจะอัปเดตกี่ครั้งก็ตาม

URL 

URL คืออะไร? URL เป็นเหมือนที่อยู่ แต่สำหรับหน้าบนอินเทอร์เน็ต

URL สำหรับหน้าเว็บไซต์ควรมีคำอธิบายสั้น ๆ และต้องเกี่ยวกับหัวข้อหลักของหน้าเพจด้วย

ตัวอย่างเช่น หากคุณมีเพจเกี่ยวกับสถานรับเลี้ยงเด็กสุนัขในเเชียงใหม่ URL ที่ดีควรเป็น www.yoursite.com/dog-daycares-in-chiang-mai หรือหากคุณมีสถานที่หลายแห่ง คุณอาจใช้รูปแบบนี้ดู  www.yoursite.com/locations/daytona/dog-daycare

การใส่คีย์เวิร์ดของคุณเข้าไปใน URL แทนการใส่ตัวเลขที่สับสนยาว ๆ จะช่วยทำให้ไซต์ของคุณไปยังส่วนต่างๆ ได้ง่ายขึ้น และทำให้ผู้คนมีอุ่นใจเมื่อเข้ามาใช้งานหรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ

แนะนำให้ใช้ URL ที่สะอาดและเป็นระเบียบ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของเว็บไซต์และช่วยให้คุณอยู่ในอันดับที่สูงขึ้นในผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

Title tag

Title tag คืออะไร? Title tag คือชื่อเพจ แต่จะปรากฏในผลการค้นหาและแท็บเบราว์เซอร์เท่านั้น

เพื่อแสดงเว็บไซต์ของคุณในหน้าผลลัพธ์ของเครื่องมือค้นหา (SERPs) Google ต้องรู้ว่าหน้าของคุณเกี่ยวกับอะไร การใช้คีย์เวิร์ดเฉพาะใน Title tag ของแต่ละหน้า (<title>, </title>) ช่วยให้โปรแกรมรวบรวมข้อมูลของเครื่องมือค้นหาเข้าใจเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่างเช่น หากคุณกำหนดเป้าหมายคีย์เวิร์ด “ศูนย์รับเลี้ยงสุนัขเดย์เชียงใหม่” คุณอาจสร้าง Title tag ประมาณนี้ “ศูนย์รับเลี้ยงสุนัขชั้นนำในเชียงใหม่| ชื่อบริษัท” เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ให้จำกัดแท็กชื่อของคุณไว้ที่ 50 อักขระ เพื่อป้องกันไม่ให้ Google ตัดชื่อนั้นออกในผลการค้นหาและแนะนำให้ใช้คีย์เวิร์ดเป้าหมายของคุณในตอนเริ่มต้น

Meta description

Meta description คืออะไร  Meta description คือข้อมูลสรุปของหน้าเพจและจะปรากฏใน SERP

Meta description ไม่ได้ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในหน้าเพจโดยตรง เป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้ผู้ใช้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเพจของคุณ คจะเห็นว่าเวลาที่ Google จะแสดงข้อความค้นหาของผู้ใช้เป็นตัวหนาใน Meta description ก็ถือเป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพคำอธิบายเมตาของคุณสำหรับ On-page SEO ได้

อย่าลืมใส่คีย์เวิร์ดหลักและคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องใน Meta description ทุกครั้ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ตัวอย่างเช่น เพจของคุณเกี่ยวกับสถานรับเลี้ยงเด็กสุนัขในเชียงใหม่ อาจใช้คำอธิบายเมตาต่อไปนี้: “กำลังมองหาสถานรับเลี้ยงสุนัขในเชียงใหม่อยู่ใช่ไหม มาที่…ชื่อบริษัทของคุณ….. ให้เราดูแลสุนัข ตัดขนสุนัข และอื่นๆ อีกมากมาย!”

และเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด Meta description ของคุณควรมีความยาวไม่เกิน 160 อักขระ

Heading tags

Heading tags คืออะไร? Heading tags เรื่องแบ่งเนื้อหาด้วย H2s, H3s และ H4s เพื่อปรับปรุงการอ่าน และโครงสร้างของเนื้อหา ถ้าอยากปรับปรุง Heading tags ให้เข้าตา Search Engine และผู้ใช้ ควรใช้ Heading tags ในเนื้อหาของคุณเพื่อแบ่งเนื้อหาและทำให้อ่านง่ายขึ้น แนะนำให้เพิ่มคีย์เวิร์ดหลักหรือคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องเข้าไปด้วย เพื่อให้ Search Engine เข้าใจบริบทเพิ่มเติมสำหรับหน้าเพจนั้น ๆ ของคุณ

ตัวอย่างเช่น โพสต์เกี่ยวกับการรับเลี้ยงสุนัขอาจใช้หัวข้อต่อไปนี้:

  • สถานรับเลี้ยงเด็กสุนัขมีบริการอะไรบ้าง?
  • ค่ารับเลี้ยงสุนัขราคาเท่าไหร่?
  • วิธีหาสถานรับเลี้ยงสุนัขที่ดีที่สุด

เมื่อเขียน Heading tags แล้ว อย่าลืมกำหนดเป้าหมายคีย์เวิร์ดของคุณในแท็ก H1 ด้วย สำคัญมาก!!

Alt tags

Alt tags คืออะไร?  Alt tags คือการให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับมัลติมีเดีย เช่น รูปภาพและวิดีโอ

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า Search Engine อ่านมัลติมีเดียไม่เป็น ดังนั้นพวกเขาจึงต้องใช้ Alt tags เพื่อบอกว่ามัลติมีเดียคืออะไร หรือเกี่ยวข้องกับอะไร

ตัวอย่างเช่น หากคุณมีรูปแอปเปิ้ล  Alt tags ของคุณสามารถพูดว่า “แอปเปิ้ลสีแดงแสนอร่อย” นอกเหนือจากนั้น คุณสามารถเพิ่มชื่อที่สื่อความหมายให้กับไฟล์ภาพได้ เพื่อให้ Google เข้าใจสื่อมัลติมีเดียของคุณได้ดียิ่งขึ้น

อย่าลืมใส่ Alt tags ให้เนื้อหามัลติมีเดียของคุณเด็ดขาก นอกจาก Google แล้ว Alt tags ตัวนี้ยังสามารถช่วยผู้ใช้ที่ไม่สามารถมองเห็นหรือโต้ตอบกับเนื้อหาของคุณได้อีกด้วย การใช้ Alt tags จะทำให้เนื้อหาของคุณเข้าถึงได้สำหรับทุกคนที่เรียกเข้ามาดูเว็บไซต์ของคุณได้เป็นอย่างดี

คีย์เวิร์ดสำคัญ 

คีย์เวิร์ดสำคัญ คืออะไร? คือคีย์เวิร์ดหลักที่ใช้กำหนดเป้าหมายของหน้าเพจนั้น ๆ ให้แรงก์ตรงกับข้อความค้นหาผู้ใช้ค้นหา

แต่ละหน้าในเว็บไซต์ของคุณควรมีเนื้อหาข้อความที่กล่าวถึงคีย์เวิร์ดสำคัญของหน้านั้น

แม้แต่หน้าที่ไม่ได้รับการปรับให้เหมาะสม เช่น หน้า “ติดต่อเรา” ก็สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักทางออนไลน์ได้ การใช้คีย์เวิร์ดในเนื้อหาของหน้าเว็บช่วยให้ Google อ่านและจัดลำดับได้อย่างเหมาะสม

คุณควรค้นคว้าและรวบรวมคีย์เวิร์ดสำหรับแต่ละหน้าในเว็บไซต์ของคุณ เครื่องมือวิจัยคีย์เวิร์ด สามารถช่วยให้คุณเข้าใจคีย์เวิร์ดที่ผู้คนใช้ค้นหาที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และบริการของคุณได้

แนะนำให้ดูตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น ปริมาณการค้นหารายเดือนและการแข่งขัน เพื่อพิจารณาว่าคีย์เวิร์ดใดจะให้คุณค่าแก่คุณมากที่สุด

ในกรณีส่วนใหญ่ บริษัทขนาดเล็กจะเน้นคีย์เวิร์ดแบบหางยาวหรือคีย์เวิร์ดที่มีสามถึงสี่คำ

คีย์เวิร์ดหางยาวมักมีปริมาณการค้นหาต่อเดือนต่ำกว่า แต่ก็มีการแข่งขันที่น้อยกว่าเช่นกัน ปกติแล้วถ้าอยากจะการถอดรหัส Search Intent ของผู้ใช้งาน คีย์เวิร์ดแบบหางยาวจะถอดได้ง่ายกว่า เนื่องจากมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่านั่นเอง

ตัวอย่างเช่น หากมีคนค้นหาด้วยคำสั้นๆ ว่า “ขนมสำหรับสุนัข” ก็คงอยากว่าพวกเขาต้องการเนื้อแนวไหน หรือต้องการหาอะไร บางทีพวกเขาอาจกำลังค้นหาเกี่ยวกับขนมสุนัขที่ดีที่สุดสำหรับสุนัขตัวเล็ก หรืออาจต้องการลองสูตรอาหารสุนัขก็เป็นได้

ในทางกลับกัน หากมีคนค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดหางยาว เช่น “ซื้อขนมสุนัขสำหรับลูกสุนัข” คุณจะรู้ได้เลยทันทีว่าแน่พวกเขาต้องการหาอะไร — และรู้ด้วยว่าพวกเขาพร้อมที่จะซื้อสินค้าประเภท

แคมเปญ SEO ที่มีประสิทธิภาพสูงมีทั้งคีย์เวิร์ดแบบหางสั้นและหางยาว — และคำที่คุณเลือกกำหนดเป้าหมายจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจและเป้าหมายของคุณ

เนื้อหา

เนื้อหาคืออะไร? เนื้อหาคือข้อมูลคุณภาพที่ให้คำตอบพร้อมบริบทแก่ผู้ใช้งานและ Search Engine ได้

เนื้อหามีความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ on-page มาก เพราะด้วยเนื้อหา คุณจะสามารถให้เหตุผลแก่ผู้ใช้ได้ว่าทำไมต้องเข้ามาชมที่เว็บไซต์ของคุณ

ไม่ว่าจะเป็นการอ่านบล็อกโพสต์หรือดูหน้าผลิตภัณฑ์ ผู้คนจะเรียกดูเนื้อหาของคุณ การเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาของคุณสามารถช่วยให้ Search Engine เข้าใจและจัดอันดับเนื้อหาของคุณ ซึ่งอาจทำให้ผู้คนค้นพบเว็บไซต์ของคุณเป็นอันแรก ๆ 

On-page SEO สำหรับเนื้อหาเกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติต่อไปนี้:

  • การใช้คีย์เวิร์ดของคุณในหัวข้อและย่อหน้า
  • แบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อแบบอ่านง่าย ๆ 
  • เสริมเนื้อหาของคุณด้วยรูปภาพที่เป็นประโยชน์
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อหาของคุณใช้การสะกดและไวยากรณ์ที่ถูกต้อง
  • ทำให้เนื้อหาของคุณน่าเชื่อถือและมีอำนาจ

นอกจากนี้ คุณควรอัปเดตหน้าเนื้อหาใหม่ ๆ ลงในเว็บไซต์ของคุณเป็นประจำ เพื่อให้ Search Engine เห็นว่าคุณเคลื่อนไหวอยู่ อาจอัปเดตด้วยบล็อกโพสต์ใหม่ หรือเพิ่มหน้า Landing Page และกลยุทธ์อื่นๆ ที่แสดงให้ Google เห็นว่าคุณทำงานอย่างหนักเพื่อลูกค้าของคุณ

เท่านั้นยังไม่พอ การค้นหาและลบเนื้อหาที่ซ้ำกันก็ช่วยปรับปรุง On-page SEO ของคุณได้อีกทาง ลองดู

ถ้ามีเนื้อหาที่ซ้ำกันในเว็บไซต์ ก็ควรบล็อกเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันในหลายหน้าบนเว็บไซต์ของคุณ เพราะเนื้อหาพวกนี้จะให้โทษหลัก ๆ สองประการ ดังนี้:

  1. Google ไม่สับสนว่าควรจัดอันดับหน้าใด: เมื่อหน้าเว็บไซต์จำนวนมากมีข้อมูลที่เหมือนกันทุกอย่าง Search Engine จะงงว่าควรจัดอันดับหน้าใดในผลการค้นหาให้กันแน่
  2. เนื้อหาที่ซ้ำกันทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์แล้วสับสน: เมื่อผู้เข้าชมพบเนื้อหาที่ซ้ำกันในเว็บไซต์ของคุณ อาจทำให้ผู้เข้าชมสับสนได้ และอาจไม่ทราบว่าต้องไปต่อยังไง 

เนื้อหาที่ซ้ำกันนั้นไม่ดีสำหรับ On-page SEO เลยแม้แต่น้อย ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณเป็นประจำเพื่อหาเนื้อหาที่ซ้ำกันและลบออก

Page speed 

Page speed คืออะไร? Page speed คือตัววัดความเร็วในการโหลดเนื้อหาของหน้าเว็บไซต๋

ด้วยช่วงความสนใจที่น้อยกว่า ผู้ใช้ 50% จะออกจากหน้าเว็บทันที ถ้าเว็บนั้นใช้เวลาโหลดนานกว่าสามวินาที ผู้คนต้องการข้อมูล และพวกเขาต้องการทันที!

Search Engine เช่น Google ยังใช้ Page speed เป็นปัจจัยในการจัดอันดับอยู่ คุณสามารถควบคุมความเร็วเว็บไซต์และความเร็วเพจได้ ดังนั้นเพียงคุณต้องการเพิ่มประสิทธิภาพความเร็วเพจ ทำให้เว็บไซต์ของคุณโหลดเร็วขึ้น และคุณสามารถอยู่ในอันดับที่สูงขึ้นในผลการค้นหาได้

ใช้ PageSpeed ​​Insights เพื่อตรวจสอบความเร็วของคุณ

PageSpeed ​​​​Insights จะให้คำแนะนำสำหรับการเร่งความเร็วไซต์ของคุณ คุณยังสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำนั้นได้เลย เช่น การบีบอัดรูปภาพ การกำจัดโค้ดเว็บไซต์ที่ไม่จำเป็น และอื่น ๆ

Internal linking 

Internal linking คืออะไร? Internal linking คือการอธิบายการเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ของคุณ จากหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่ง ที่อยู่ในโดเมนกัน

Internal linking มักถูกมองข้ามเมื่อพูดถึงการทำ On-page SEO แต่เมื่อเว็บไซต์ของคุณเติบโตขึ้น การพัฒนากระบวนการเชื่อมโยงภายในก็เป็นสิ่งสำคัญ นั่นเป็นเพราะการเชื่อมโยงภายในจะช่วยให้โปรแกรมรวบรวมข้อมูลที่เข้ามาสำรวจไซต์ของคุณ ค้นพบเนื้อหาใหม่ และเข้าใจบริบทของหน้าต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันอยู่

การมี Internal link แค่เล็กน้อยหรือไม่มีเลยในเพจของคุณส่งผลเสียต่อความสามารถของผู้ใช้ในการเข้าถึงเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณที่มีคุณค่าต่อพวกเขา และหากพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงได้ นั่นจะส่งผลโดยตรงต่อ Conversion ของคุณด้วยในท้ายที่สุด

ลองใช้ Internal link เพื่อปรับปรุง On-page SEO ของคุณ ตามนี้:

  • การเพิ่มลิงก์ไปยังเนื้อหาที่เกี่ยวข้องและเนื้อหาที่มีอยู่แล้วในโพสต์ใหม่
  • การเพิ่มลิงก์จากเนื้อหาที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ไปยังหน้าใหม่

กลยุทธ์ Internal linking ในแต่ละวิธีจะแตกต่างกัน แต่เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกหน้าใหม่มีลิงก์อย่างน้อยสองถึงสามลิงก์ หากคุณประสบปัญหาในการค้นหาหน้า อย่ายัดลิงก์เข้าไปดื้อ ๆ แต่ให้ดูจากเนื้อหาหลักแทน

ตรวจสอบสถานะของ Internal linking ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือฟรี เช่น Screaming Frog

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Anchor Text คืออะไร? และมีกี่ประเภท

รูปภาพ

รูปภาพคืออะไร? รูปภาพเป็นสื่อมัลติมีเดียรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้ผู้คนเข้าใจและอ่านเนื้อหาคร่าว ๆ ได้

รูปภาพมีความสำคัญต่อ SEO เช่นเดียวกับผู้ใช้ การมีรูปภาพจะทำให้แบ่งเนื้อหาได้ และยังสามารถระบุบริบทของรูปภาพ เพื่อให้ Search Engine อ่านอีกด้วย

เมื่อเพิ่มรูปภาพลงในเว็บไซต์ของคุณ อย่าลืมบีบอัดรูปภาพ เพราะถ้าปล่อยให้รูปใหญ่เกินความจำเป็นก็จะส่งผลต่อ Page Speed ได้ จากนั้นก็จะไปกระทยกับการจัดอันดับอีก อีกข้อนึงคืออย่าลืม Alt tag ด้วย เพื่อให้เนื้อหาส่วนนี้ของเว็บไซต์ถูกเข้าถึงได้ทั้งจากผู้เข้าชม และ Searcg Engine แถมยังสามารถช่วยเรื่อการจัดอันดับใน Google Image ได้อีกแรง

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เพิ่มประสิทธิภาพให้ทุกมัลติมีเดียในเว็บไซต์ไปแล้ว  เช่น ถ้าเป็นวิดีโอก็มีการถอดเสียงออกมาเป็นคำบรรยายแล้ว หรือถ้าเป้นรูปภาพก็ใส่ Alt tag แล้ว อย่าลืมใส่คีย์เวิร์ดสำคัญเข้าไปด้วย เพราะจะสามารถช่วยทำให้เว็บไซต์ของคุณเป็นไปตามมาตรฐาน ADA

Mobile-friendliness

Mobile-friendliness คืออะไร? Mobile-friendliness คือความเหมาะกับอุปกรณ์เคลื่อนที่จะอธิบายถึงความสามารถในการใช้งานเว็บไซต์ผ่านอุปกรณ์มือถือได้ 

การปรับให้เว็บไซต์เหมาะกับมือถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะมากกว่า 50% ของปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตมาจากมือถือ หากผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณได้ อันดับของคุณในผลการค้นหาจะลดลง

ตัวอย่างเช่น  Search Engine เช่น Google ใช้ Mobile-friendliness หรือ responsiveness เป็นปัจจัยในการจัดอันดับ ซึ่งหมายความว่า หากเว็บไซต์ของคุณไม่ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์มือถือ บอกเลยว่าคุณกำลังพลาดโอกาสในการขายและรายได้อันมหาศาลไป

ความเข้ากันได้กับมือถือไม่ใช่คำแนะนำอีกต่อไป เป็นข้อกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณต้องการจัดอันดับที่ดีสำหรับคีย์เวิร์ดของคุณ Google จะพิจารณาความเข้ากันได้กับมือถือมาจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณ ความเข้ากันได้ต่ำ = อันดับตก

การเพิ่มประสิทธิภาพในหน้าเว็บเพื่อให้เหมาะกับมือถือมักเน้นไปที่การพัฒนาเว็บไซต์ที่ตอบสนอง ถ้าคุณมีเว็บไซต์เดียวก็จะง่ายต่อการอัปเดตเว็บไซต์ของคุณรวมถึงการเพิ่มเนื้อหาใหม่

โชคดีที่เดี๋ยวนี้เราสามารถใช้เครื่องมือทดสอบความเหมาะกับมือถือของ Google เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของไซต์ของคุณได้แล้ว ลองเลย!

On-page SEO คืออะไร (2)

วิธีประเมินการเพิ่มประสิทธิภาพ On-page ของคุณ

เมื่อคุณรู้แล้วว่า On-page SEO คืออะไร ทีนี้คุณก็จะสามารถประเมินประสิทธิภาพเว็บไซต์ของคุณได้ มีเครื่องมือมากมาย ที่ช่วยตรวจสอบเว็บไซต์ได้ แถมยังดูหน้าเพจแยกต่างหากดได้อีก ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณ หากคุณเลือกที่จะดูด้วยตนเอง คุณสามารถใช้เกณฑ์เหล่านี้เป็นพื้นฐานสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพ on-page ได้เลย

  • คุณใช้คีย์เวิร์ดสำหรับทุกหน้าเพจหรือยัง คีย์เวิร์ดที่ใช้ดึงดูดผู้เข้าชมได้ไหม ถ้าไม่ลองเปลี่ยนคีย์เวิร์ดเป้าหมายดู
  • คุณมี internal linking ภายในเว็บไซต์บ้างหรือยัง วิธีนี้จะช่วยที่ช่วยให้ผู้เยี่ยมชมเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง และช่วยเพิ่มการใช้งานในเว็บไซต์อีกด้วย
  • เว็บไซต์ของคุณโหลดเร็วหรือไม่? มีหน้าไหนโหลดนาน ๆ หรือเปล่า ถ้ามีแสดงว่ามีปัญหาซุกซ่อนอยู่ในเว้บคุณอยู่ รีบหาและแก้ไขให้เร็วที่สุด ถ้าเว็บไซต์ที่โหลดช้าบอกเลยว่าผู้เข้าชมทั้งคนและบอทไม่ปลื้มแน่!
  • เว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาใหม่บ้างไหม? ไม่ได้อัปเดตนานแค่ไหนแล้ว? รีบสร้างเนื้อใหม่ ๆ และอัปเดตเว็บเร็ว จะได้ตามคู่แข่งได้ทัน 

อยากตรวจสอบ On-page SEO ของคู่แข่งต้องทำยังไง?

ไม่ต้องคิดหนักไป ถ้าเจอะคู่แข่งที่แข็งแกร่ง เพราะพวกอาจทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างตัวเองในอุตสาหกรรมของคุณอยู่ และมั่นใจได้เลยว่าพวกเขากำลังใช้ On-page SEO เช่นเดียวกับคุณ

แต่ถ้าอยากรู้ว่าคุณสามารถทำอะไรได้ดีขึ้น ตีเสมอหรือแซงเหน้าพวกเขาได้ไหม เราบอกเลยว่า ได้!! ลองดูเว็บไซต์ของพวกเขาและดูว่าพวกเขากำลังทำอะไรอยู่ แม้ว่าอาจมีความลับอยู่บ้าง แต่ก็สามารถหาข้อมูลมากมายได้เพียงแค่ตรวจสอบหน้าไม่กี่หน้า ด้วย บริการรับทำ SEO รับประกันคุณภาพ ของเรา

การตรวจดูคู่แข่งขันของคุณยังช่วยให้เห็นถึงสิ่งที่ควรปรับปรุงบนเว็บไซต์ของคุณเองด้วย ซึ่งช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของคุณไปอีกแรง มาเริ่มพัฒนา On-page SEO ของคุณให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นตั้งแต่วันนี้ แล้วจับตาดูแนวโน้มที่ดีของอันดับเว็บไซต์ที่จะเริ่มไต่ขึ้น ๆ ในเวลาอันใกล้นี้…

Share: